|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
|
|
|
|
สภาพทั่วไป |
องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งใน 18 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ อำเภอบางปลาม้า อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบางปลาม้า ประมาณ 10 กิโลเมตร ตั้งอยู่เลขที่ 10/2 หมู่ที่ 5 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีเนื้อที่รวม 27 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 16,875 ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่30 มีนาคม 2539 โดยมี นายไพบูลย์ ยิ้มประเสริฐ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คนแรกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เมื่อวันที่ 31 สิงหาค 2551 จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มตามแนวลำน้ำท่าจีน ส่วนใหญ่เป็นนา ไร่ ประชากรประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม |
องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ |
ทิศเหนือ |
จดตำบลทับตีเหล็ก |
อำเภอเมืองสุพรรณ ฯ |
จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศใต้ |
จดตำบลวัดดาว |
อำเภอบางปลาม้า |
จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศตะวันออก |
จดตำบลโคกคราม |
อำเภอบางปลาม้า |
จังหวัดสุพรรณบุรี |
ทิศตะวันตก |
จดตำบลมะขามล้ม |
อำเภอบางปลาม้า |
จังหวัดสุพรรณบุรี | |
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า จำแนกลักษณะตามระดับความสูงของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนเป็นที่ดอน พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับการทำนา มีแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง อยู่ทั่วไป มีแม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำสุพรรณบุรีเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านจากเหนือสุดถึงใต้สุด ในฤดูฝนจะมีน้ำหลากไหลบ่ามีน้ำท่วมขัง ในที่ราบลุ่มทำให้เกิดน้ำท่วมในบางท้องที่ เช่น ในเขต หมู่ที่ 9 ,1,4,8 ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลาง จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านในเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่านในเดือนเมษายนถึงกลางเดือนตุลาคม นอกจากนี้ยังมีลมตะวันออกหรือตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้ เริ่มพัดผ่านเข้ามาในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ฤดูร้อน ปลายเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน เป็นช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะในเดือนเมษายนอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิที่สูงสุดที่ 40 องศาเซลเซียส ความร้อนของอากาศมีสาเหตุมาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์และขณะเดียวกันก็ได้ถูกปกคลุมด้วยบริเวณความกดอากาศสูงซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมซึ่งเกิดจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เริ่มพัดเข้าถึงก้นอ่าวไทยประมาณเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนหรือต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดผ่านทำให้มีฝนตกมากขึ้นในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม ตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มจากเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นมาก ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ แต่โดยทั่วไปอุณหภูมิมักจะไม่ลดต่ำมากนัก เพราะอยู่ปลายลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับอิทธิพลจากทะเลในบริเวณอ่าวไทย
|
|

|
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1) การคมนาคมขนส่จังหวัดสุพรรณบุรีมีเส้นทางคมนาคมได้ 2 ทาง คือทางรถยนต์ และทางเรือ โดยระบบการคมนาคมทางรถยนต์เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและมีการนิยมใช้มที่สุด โดยมีเส้นทางติดต่อระหว่าง ตำบล อำเภอ จังหวัด เส้นทางคมนาคมติดต่อกับ ตำบล อำเภอ จังหวัด ดังนี้ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1. บางปลาม้า สองพี่น้อง 3318 2. บางปลาม้า บางแม่หม้าย 3351 การคมนาคมทางน้ำ อาศัยทางน้ำเพื่อเดินทางและขนถ่ายสินค้า แม่น้ำท่าจีน เป็นทางเดินเรือหลักของตำบล สามารถติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตจังหวัดชัยนาท ลงมาถึงเขตจังหวัดสุพรรณบุรี และเลยผ่านไปถึงจังหวัดนครปฐม 2) ระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาบางปลาม้า ให้บริการด้านกระแสไฟฟ้า ได้ครบทุกหมู่บ้านแล้ว ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านพักอาศัยรองลงมาได้แก่ ประเภทธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง 3) ระบบประปา การประปาในจังหวัดสุพรรณบุรีได้ตอบสนองความต้องการของประชาชนสำหรับอุปโภคบริโภคได้กว้างขวาง โดยมีหน่วยงานราชการช่วยเหลือและส่งเสริมคือการประปาส่วนภูมิภาค (กรมโยธาธิการ) การประปาเทศบาล และสุขาภิบาล ในปี 2550 การประปาจังหวัดสุพรรณบุรี ผลิตน้ำจำหน่ายได้จำนวน 10,081.069 ลูกบาศก์เมตร จำนวนผู้ใช้ 45,154 ราย สำหรับเขตชุมชนใหญ่ ๆ ที่มีการประปาใช้ ได้แก่ - หน่วยโพธิ์พระยา - หน่วยสวนแตง - หน่วยท่าเสด็จ - หน่วยบางปลาม้า - โคกคราม 4) การสื่อสารและโทรคมนาคม จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่มีการสื่อสารที่ทันสมัยมากจังหวัดหนึ่ง ซึ่งจำแนกรายละเอียด คือ - โทรศัพท์ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ติดตั้งระบบโทรศัพท์ครอบคลุมพื้นที่ครบทุกอำเภอ มีชุมสายให้บริการแก่ประชาชนจำนวน 6 ศูนย์ ในปี 2550 มีจำนวนเลขหมายทั้งหมด 51,879 เลขหมาย จำนวนผู้เปิดใช้ (ธรรมดา) 38,641 เลขหมาย คิดเป็นร้อยละ 74.48 จำนวนโทรศัพท์สาธารณะที่เปิดให้บริการรวมทั้งสิ้น 3,387เลขหมาย การไปรษณีย์ ในปี 2550 ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนในจังหวัดมี 2 ประเภท คือที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของบริษัทไปรษณีย์ไทยเป็นผู้จัดดำเนินการเอง 16 แห่ง และที่บริษัทไปรษณีย์ไทยจัดตั้งและให้เอกชน (ปณช.) ดำเนินการมี 43 แห่ง กระจายอยู่ในทุกอำเภอ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและแหล่งน้ำ ดิน สภาพของดินในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี มีความเหมาะสมกับการทำนา พืชไร่ ไม้ยืนต้น ไม้ผลต่าง ๆ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ถาวรสำหรับการปศุสัตว์ ซึ่งพิจารณาจากคุณสมบัติของดินทั้งกายภาพและเคมี ในด้านเนื้อดิน ความลึกของดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำ ชนิดของแร่ดิน ดินเหนียวและปริมาณแร่ธาตุของดิน แหล่งน้ำ แม่น้ำสายสำคัญและเป็นประโยชน์ ต่อความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของประชากรในจังหวัดได้แก่แม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำสุพรรณบุรี และคลองชลประทานโพธิ์พนะยา 1. แม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำสุพรรณบุรี แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอเมืองชัยนาทจังหวัดชัยนาท ไหลลงทิศใต้เข้าสู่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่อำเภอเดิมบางนางบวชแล้วไหลผ่านอำเภอสามชุก อำเภอศรีประจันต์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้าและอำเภอสองพี่น้องตามลำดับปลายน้ำของแม่น้ำสายนี้จะไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสาคร 2. ห้วยกระเสียว เป็นสาขาที่สำคัญของแม่น้ำสุพรรณบุรี เกิดจากลำน้ำต่าง ๆที่ไหลมาจากทางใต้ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานีและเขาพุกำ รวมทั้งเขาพระ ทุ่งดินดำตอนใต้ลงมา ทางน้ำเหล่านี้จะไหลมารวมกันที่ด้านตะวันตกของอำเภอด่านช้าง กลายเป็นห้วยกระเสียวแล้วไหลมาทางตะวันออกผ่านที่ราบสูงลงสู่แม่น้ำสุพรรณบุรี ที่อำเภอสามชุก เป็นลำนำที่มีน้ำไหลตลอดปี ป่าไม้ จังหวัดสุพรรณบุรีมีเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน 3,348,755 ไร่ ถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 7 แห่ง เนื้อที่รวมกันทั้งหมด 825,102.52 ไร่ หรือร้อยละ 24.64 ของพื้นที่จังหวัด โดยมีพื้นที่ป่าธรรมชาติกระจายอยู่ทางตอนเหนือและทางด้านตะวันตก ภายในเขตอำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภออู่ทอง และอำเภอสองพี่น้อง ชนิดป่ามีตั้งแต่ป่าทุ่ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าสนเขา ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจได้แก่ เต็ง รัง มะค่าโมง มะค่าแต้ พะยูง ชิงชัน ประดู่ตะเคียนทอง ยมหอม เป็นต้น แร่ธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรีมีปริมาณแร่ธาตุแต่ไม่มากนัก พบแร่สำคัญบางชนิดเท่านั้น เช่น ดีบุก พบบริเวณเขาโยตุงทางตอนเหนือของอำเภอด่านช้าง นอกจากนี้ยังพบใยหินแกรนิต และหินปูนใช้ในการก่อสร้างบริเวณเขาใหญ่ทางตะวันตก และเขาทางด้านตะวันออกและตะวันตก ระหว่างเส้นทางอู่ทองถึงอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี รวมทั้งบริเวณเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง กิจการด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของจังหวัดสุพรรณบุรี จึงมีขอบเขตจำกัด โดยจะมีเฉพาะการทำเหมืองแร่หินปูน หินอุตสาหกรรมเท่านั้น การกสิกรรม จากการที่พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีการชลประทานอย่างทั่วถึง ประกอบกับสภาพดินเหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าว การเพาะปลูกข้าว การเพาะปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยเพื่อผลิตน้ำตาล มันสำปะหลัง ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ข้าวฟ่าง และพืชอื่น |
|

|
ด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรรม จังหวัดสุพรรณบุรีถือได้ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก มีแหล่งน้ำธรรมชาติ การชลประทานเหมาะสมแก่การเกษตร พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า การเกษตรกรรมสำคัญได้แก่ การกสิกรรม การทำนา ทำสวนเป็นอาชีพหลักของประชาการมากกว่าร้อยละ 80 - พื้นที่ทำการเกษตรในอำเภอด่านช้าง มีพื้นที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 14.6 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด รองลงมาได้แก่พื้นที่ในอำเภอเดิมบางนางบวช ร้อยละ 14.26 - พื้นที่ทำนา ในอำเภอเดิมบางนางบวช มีพื้นที่ทำนามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 20.52 ของพื้นที่ทำนาทั้งหมด เนื่องจากสภาพพื้นที่ อากาศ น้ำ ที่เอื้ออำนวยสำหรับการเพาะปลูก รองลงมาได้แก่พื้นที่ในเขตอำเภอเมือง ร้อยละ 15.75 - พืชไร่ อำเภอที่มีพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่มากที่สุด ได้แก่อำเภอด่านช้าง คิดเป็นร้อยละ 47.25 ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำพืชไร่ โดยเฉพาะการปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ รองลงมาเป็นพื้นที่ในอำเภอสองพี่น้อง การอุตสาหกรรม ในปี 2550 มีโรงงานอุตสาหกรรมที่คงอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จำนวน1,061 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.24 เงินลงทุน 25,626 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.09 มีผู้ประกอบการขอยื่นจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2550 จำนวน 38 แห่ง เงินทุน 492 ล้านบาท ตั้งกระจายอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี อู่ทอง สองพี่น้อง ศรีประจันต์ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมประเภทการเกษตร ขนส่ง อาหาร และเครื่องจักรกล เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางมีการจ้างงานไม่เกิน 100 คน และมีโรงงานขนาดเล็ก และโรงสีขนาดใหญ่และขนาดกลางจำนวน 100 กว่าแห่ง การอุตสาหกรรม เป็นภาคการผลิตที่เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของจังหวัด รองลงมาจากภาคการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญร้อยละ 25 ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรีรองมาอยู่ในเขตอำเภออู่ทองร้อยละ 18 และอยู่ในเขตอำเภอสองพี่น้องร้อยละ 12 จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ใกล้กรุงเทพฯ มีความได้เปรียบและความพร้อมด้านวัตถุดิบ แรงงานและสาธารณูปโภคกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลาง ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมมีจำนวน 21 ประเภทแยกเป็นประเภทอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรจำนวน 215 แห่ง รองลงมาได้แก่อุตสาหกรรมการเกษตร 211 แห่ง และอุตสาหกรรมอาหาร 100 แห่ง การพาณิชยกรรม การพาณิชยกรรม ในปี 2550 มีผู้ประกอบการซึ่งยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลประเภทต่าง ๆ จำนวน 122 ราย (ไม่รวมที่เลิก รับมา โอนไป) ลดลงคิดเป็นร้อยละ 15.86 เงินทุนจดทะเบียน 445.70 บาท เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 19.02 แยกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด 85 ราย บริษัทจำกัด 37 ราย ธุรกิจที่ขอจดทะเบียนส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทรับเหมาก่อสร้าง ขายส่ง ขายปลีก การจดทะเบียนพาณิชย์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า มีผู้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนจำนวน 970 ราย ลดลงคิดเป็นร้อยละ 5.64 ส่วนใหญ่เป็นประเภทขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค จังหวัดสุพรรณบุรีมีผู้จดทะเบียนนิติบุคคลประกอบธุรกิจที่ยังคงอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จำนวน 1,904 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.99 โดยมีผู้ประกอบธุรกิจห้างหุ้นส่วนสามัญ 21 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด 1,227 ราย และบริษัทจำกัด 655 ราย และบริษัทมหาชน 1 ราย
ข้อมูล : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุพรรณบุรี |
|

|
|
แรงงานและอาชีพ แรงงาน ในปี พ.ศ. 2550 จังหวัดสุพรรณบุรีมีประชากรที่อยู่ในวัยทำงาน / วัยแรงงาน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ในปี 2550 จำนวน 658,359 คน ผู้อยู่ในกำลังแรงงานจำนวน 485,828 คิดเป็นร้อยละ 73.79 ของผู้อยู่ในวัยแรงงาน และผู้อยู่นอกกำลังแรงงานจำนวน 172,531 คน หรือร้อยละ 26.21 ของวัยแรงงานทั้งหมดและผู้ไม่อยู่ในวัยทำงานมีอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 174,977 คน คิดเป็นร้อยละ 26.58 ของผู้อยู่ในวัยทำงาน อาชีพ อาชีพส่วนใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ทำนา ทำไร่ ทำสวน และป่าไม้ รองลงมาประมาณร้อยละ 17 ประกอบอาชีพรับจ้างประมาณร้อยละ 13 ประกอบอาชีพค้าขาย สำหรับที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอาชีพอื่น ๆ การปศุสัตว์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดล้อมรอบไปด้วยภูเขา เหมาะสำหรับเป็นแหล่งของปศุสัตว์ประชากรจึงมีอาชีพด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ รองจากการทำการเกษตร สัตว์เลี้ยงเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่ และเป็ด รวมทั้งมีฟาร์มเพาะเลี้ยงนับพันฟาร์ม เนื่องจากสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวย แต่ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงลดลง จากปัญหาโรคระบาดและไข้หวัดนกในช่วง5 ปี ที่ผ่านมาทำให้พื้นที่เลี้ยงไก่และเป็ดลดลง การประมง จังหวัดสุพรรณบุรีไม่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล การประมงของจังหวัดจึงมีแต่การประมงน้ำจืดและการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม กุ้งขาว โดยมีการเลี้ยงกันมาแถบอำเภอบางปลาม้า อำเภอพี่น้อง และอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งมีแนวเขตติดต่อกันเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่มีลำคลองหลายสาย และอยู่ใกล้เมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ปลาน้ำจืดที่เลี้ยง ได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อนปลาสวาย ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิดและปลาเบญจพรรณ ซึ่งจำแนกการเลี้ยงได้ 2 วิธี 1. การเลี้ยงปลาน้ำจืดเป็นรายได้หลัก 2. การเลี้ยงปลาน้ำจืดเป็นผลพลอยได้ |
| |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
|